เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
รหัสนักศึกษา 5111207360 ..NuPANG.. ~ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ~

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16.

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553

ปิดคลอสในรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย
1.ทำการสอบเก็บคะแนนปลายภาค
2.ประเมินอาจารย์ผู้สอน

จบการเรียนการสอนภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553

บันทึกครั้งที่ 15.




วันพุธที่ 29 กันยายน 2553
ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาการเรียนการสอน : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นำไปปรับปรุงแก้ไขและใส่แหล่งอ้างอิงอาจารย์สอนเพิ่มเติมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 14

วันที่พุธ 22 กันยายน 2553

ร่วมกันสรุปงานแผนผัง mind map ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยเรื่อง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้าจะช่วยในการเรียนการสอนของเด็ก เช่นการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การเดิความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา กิจกรรมศิลปะไม่ควรใช้ดินสอเพราะ จะทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่น


หมายเหตุ แจกแบบทดสอบเรื่องเทคนิคทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งในสัปดาห์หน้า.

บันทึกครั้งที่ 13




วันที่ พุธที่15 กันยายน 2553

นำเสนอ Mind Map แล้วเพิ่มเนื้อหา ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 12

วันที่ 8 กันยายน 2553

สรุปการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต (ในรูปแบบการนำเสนอหน้าชั้นเรียน)
นำเสนอในรูปแบบของ power point

จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เลือกหน่วยการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยทำ Mind Map
แยกส่วนลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญๆเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในการศึกษา

บันทึกครั้งที่ 11




เนื่องด้วยในวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2553.
จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แสนสนุก ที่โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมตั้งแต่เวลา 7.00 น.

นักศึกษาชั้นปีที่3. ได้เตรียมอุปกรณ์และนำมาจัดกิจกรรมในแก่เด็กชั้นอนุบาล1-เด็กชั้นเตรียมประถมศึกษา
ซึ่งได้แก่ ฐานมหัศจรรย์ของน้ำ ความลับของแสง อากาศ และเสียง

บันทึกครั้งที่ 10






วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553.
แต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับสื่อทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยเรื่อง...
1.มหัศจรรย์ของน้ำ
2.ความลับของแสง
3.อากาศแสนสนุก
4.เอ๊ะ! นั่นเสียงอะไร
สาระคำคัญที่ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรม
ผู้คิดกิจกรรมจะต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กจะต้องเกิดทักษะการสังเกต การทดลอง การคิด การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
และตัวกิจกรรมจะต้องปลอดภัยเพื่อที่เด็กจะได้ลงมือกระทำได้อย่างเต็มศักยภาพ

การเสนอกิจกรรมยังต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขนำเสนอในครั้งต่อไป

บันทึกครั้งที่9

เนื่องจากวันอังคาร ที่ 17 และ วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553
นักศึกษาชั้นปี 3และ ปีที่4 สาขาวิฃาเอกการศึกษาปฐมวัยศึกษา

ได้ออกไปศึกษาดูงานและเข้าค่าย ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

บันทึกครั้งที่8


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก

เป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค....



บันทึกครั้งที่7

วันพุธ ที่ 4 สิงหาคม 2553


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีกิจกรรมบายศรีไหว้ครูของเอก การศึกษาปฐมวัย ...

บันทึกครั้งที่6

วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2553

ชมวิดีทัศน์เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
สรุปสาระสำคัญออกมาได้ดังนี้
1.การทดลองการปั่นผลไม้ ในการทดลองนี้จะฝึกให้เด็กสังเกต มีการใช้คำถามเชื่อมโยงกระบวนทางวิทยาศสาตร์
2.การทดลองน้ำแข็ง (น้ำเปลี่ยนสถานะ) เกิดการควบแน่นและเชื่องโยงไปถึงการเกิดของฝน ในการเกิดฝนเกิดจากพลังจากแสงอาทิตย์ลงมายังผิวน้ำ ผิวน้ำก็กลายเป็นไอเกิดการรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ท้องฟ้าเย็นจนกลายเป็นเม็ดฝน
3.การทดลอง น้ำใส่แก้วแล้วแช่เย็น ความหนาแน่น ในธรรมชาติแล้วสสารในโลกจะมีโมเลกุลเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งน้ำจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเมื่อเทน้ำไปใส่แก้วแล้วแช่เย็นเมื่อแข็งตัวน้ำในแก้วก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
4.การทดลองแครอทใส่ในแก้ว เกิดความหนาแน่นระหว่างน้ำเกลือกับน้ำเปล่า แต่เกลือจะมีความหนาแน่นมากกว่า จะสังเกตได้ว่าเมื่นำแครอทลงในน้ำเปล่าจะปรากฏว่าแครอทจะจม แต่เมื่อเทน้ำเกลือลงไปจะสังเกตได้ว่าแครอทจะลอยขึ้นมา นั่นก็เป็นเพราะว่า เกลื่อมีความหนาแน่นมากกว่า เกลือจึงดันให้แครอทลอยขึ้น
5.การตกของน้ำแข็ง ในการทดลองนำผ้าก็อตวางลงบนน้ำแข็งแล้วใช้เกลือโรยจะปรากฏว่าน้ำแข็งจะติดผ้าก็อตขึ้นมา ก็เป็นเพราะว่าเกลือจะดูดความร้อนจากบริเวณที่ใกล้ จึงทำให้น้ำแข็งติดกับผ้าก็อต6.การทดลองแรงดันจากการเจาะรูจากขวด (ถ้าบริเวณที่มีส่วนลึกน้ำก็จะมีแรงดันมากกว่าบริเวณที่ตื้นกว่า) อากาศจะเข้ไปแทนที่น้ำจึงทำให้น้ำออกมาจากขวด จะเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนบริเวณที่อยู่ลึกกว่าจะต้องมีความหนามากกว่าบริเวณที่ตื้น มิฉะนั้นแรงดันบริเวณที่ลึกจะทำให้เขื่อนพังลงมาได้

บันทึกครั้งที่5

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553

นำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
1. โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อนข้อแนะนำเพิ่มเติม- เพื่อนเกิดความตระหนักในการใช้ถุงผ้า- ควรปรับตัวหนังสือใน Power Point- มีแหล่งข้อมูลพื้นฐานอาจารย์สะท้อนเรื่อง- ความความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน- การเขียนงบประมาณต้องมี 3 ส่วน คือ งบใช้สอยค่าอาหาร งบวัสดุ งบครุภัณฑ์

2. โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติกข้อแนะนำเพิ่มเติม- มีการยกตัวอย่างรูปภาพและอธิบาย (ภาพขยะเต็มหน้าบ้าน ขยะในแม่น้ำ โลกป่วย ขวดพลาสติก กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก)- รูปภาพเล็ก น่าจะนำใส่ Power Point- ไม่มีแหล่งข้อมูลความรู้- ควรมีการเกริ่นนำอาจารย์แนะนำ- รูปแบบวิธีการนำเสนอ (การนั่งอภิปราย การนำเสนอแบบพิธีกร)- การใช้สื่อ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงไม่สอดคล้อง

3. โครงการถังขยะอัจฉริยะข้อแนะนำเพิ่มเติม- การนำเสนอให้เป็นธรรมชาติ ไม่อ่านทุกตัวอักษร- เนื้อหาไม่สอดคล้อง- ระบุระยะเวลาดำเนินการ

4. โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัยข้อแนะนำเพิ่มเติม- ความเชื่อมโยงของเนื้อหา- กิจกรรมซ้ำ

5. โครงการคลายโลกร้อนด้วยมือน้อยข้อแนะนำเพิ่มเติม- รายละเอียดไม่ชัดเจน- เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลอาจารย์มอบหมายงาน- กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่แปลกใหม่ (งานกลุ่ม)- นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)

การบ้าน.
1.หาเศษวัสดุหรือขยะที่ไม่ใช้แล้ว นำมาสร้างหรือประดิษฐ์เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (งานกลุ่ม 1.ชิ้น)
2.คิดกิจกรรมที่แปลกใหม่ สอดคล้องกับโครงการของกลุ่มตนเอง(งานกลุ่ม)
3.หาสาเหตุและวิธีการช่วยลดภาวะโลกร้อน พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มา(งานเดี่ยว ตอบคำถามลงในบล็อก)

บันทึกครั้งที่4


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2553.

แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการได้แก่
1. ซูนีตา โครงการการประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
2. น้ำฝน โครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
3. เพ็ญศรี โครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
4. ศุภาพร โครงการถังขยะอัจฉริยะ
5. สุพัตรา โครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม


การบ้าน.1.นำโครงการไปปรับปรุง2. ให้นักศึกษาคิดและประดิษฐ์ชิ้นงาน "ศิลปะสอนวิทยาศาสตร์" มาเสนอคนละ1ชิ้นส่งในสัปดาห์ถัดไป3.นัดหมายการเรียนในครั้งต่อไปเวลา 9.00 น.



วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ร์ออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอน ประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซ พิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก

พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคลื่นสั้นและคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีคลื่นสั้นไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมี ชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมา และรังสีเอ็กซ์จนทำให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศชั้นบนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า "ไอโอโนสเฟียร์" มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสาร) รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้

วิธีแก้ภาวะโลกร้อน
1. ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลลม หากเป็นไปได้ ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดีๆ สามารถทำได้ เช่นหลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความ
ร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
2. เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผาไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
3. เวลาเดินเข้าห้างสรรพสินค้า หากมีใครเปิดประตูทิ้งไว้ ให้ช่วยปิดด้วยเนื่องจากห้างสรรพสินค้าแต่ละห้างนั้น มีพื้นที่มาก กว่าจะทำให้เกิดความเย็นได้ ก็จะก่อให้เกิดเกิดความร้อนปริมาณมาก ดังนั้นเมื่อมีคนเปิดประตูทิ้งไว้ แอร์ก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ความเย็นตามที่ระบุไว้ในเครื่อง ซึ่งประตูที่เปิดอยู่จะนำความร้อนมาสู่ตัวห้างเครื่องก็จะทำงานวนอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความร้อนอีกปริมาณมากต่อสภาพภายนอก
4. พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทนซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวมๆกันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
5. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และ ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรีอนกระจก
6. การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
7. เวลาซื้อของพยายามไม่รับภาชนะที่เป็นโฟม หรือกรณีที่เป็นพลาสติก เช่นขวดน้ำพยายามนำกลับมาใช้อีก เนื่องจากพลาสติกเหล่านี้ทำการย่อยสลายยาก ต้องใช้ปริมาณความร้อน เหมือนกับตอนที่ผลิตมันมา ซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกของเรา เราสามารถนำกลับมาใช้เป็นภาชนะใส่น้ำแทนกระติกน้ำได้ หรือใช้ปลูกต้นไม้ก็ได้
8. ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง เนื่องจากสัตว์เหล่านี้ อุจจาระจะปล่อยก๊าซมีเทนออกมา ดังนี้นอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ เมื่อมีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดความร้อนกับโลกเรามาก
9. ใช้กระดาษด้วยความประหยัด กระดาษแต่ละแผ่น ทำมาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งเป็นเสมือนปราการสำคัญของโลกเรา ดังน้นการใช้กระดาษแต่ละแผ่นควรใช้ให้ประหยัดทั้งด้านหน้าหลัง ใช้เสร็จควรนำมาเป็นวัสดุรอง หรือ นำมาเช็ดกระจกก็ได้ นอกจากนี้ การนำกระดาษไปเผาก็จะเกิดความร้อนต่อโลกเราเช่นกัน
10. ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกเรา และควรสนับสนุนกิจการที่มีการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม



แหล่งข้อมูล :: http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
:: http://www.budpage.com/forum/view.php?id=850

วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 1

วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2553

เด็กปฐมวัยกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คือ ???
- ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง
- ความพยายามของมนุษย์เช่นนี้ติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ- การทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง โดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอ ช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กๆเพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น

ทฤษฎีสติปัญญาของเพียเจย์ กล่าวว่า พัฒนาการเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง คือ ซึมซับข้อมูลและปรับเป็นความรู้ใหม่ เพื่อความอยู่รอด

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
- ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขา โดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม
- ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- ไม่จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

ทบทวนบทบาทของผู้ใหญ่
- เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
- ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็กๆ
- จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
- ครูและผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
- ครูต้องแม่นยำในพัฒนาการเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก (สามารถดูคุณลักษณะตามวัยได้ที่ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546)

สรุปความรู้ที่ได้รับในวันนี้
(ของตนเอง)
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจะต้องสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็น ชอบลงมือปฏิบัติ ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งตรงทฤษฎีด้านสติปัญญาของเพียเจย์ คือ พัฒนาการเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง ที่จะซึมซับข้อมูลจนปรับเป็นความรู้ใหม่เพื่อไว้ใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ ผู้ใหญ่ต้องไม่ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของเด็ก และผู้ใหญ่ต้องให้ความสนใจในคำถามของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้อธิบายในสิ่งที่เขาต้องการเรียนรู้ และครูต้องจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถของเด็ก
(ของกลุ่ม5คน)
- ครูหรือผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
- วิทยาศาสตร์เปรียบเหมือนสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
- ถ้าเด็กมีคำถามที่เกินความสามารถของครูหรือผู้ใหญ่ที่จะตอบได้ ไม่ควรใช้อารมณ์กับเด็ก
- เมื่อผู้ใหญ่เข้าใจเด็ก จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้ดี
- ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจย์ คือ พัฒนาการเกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง ที่จะซึบซับข้อมูล จนได้ความรู้ใหม่ไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน
- พัฒนาการสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็ก

การบ้าน ~
งานกลุ่ม เรื่อง คิดกิจกรรมเพื่อให้เด็กตระหนักถึงภาวะโลกร้อน สำหรับเด็ก 5 ขวบ