เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
รหัสนักศึกษา 5111207360 ..NuPANG.. ~ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ~

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16.

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553

ปิดคลอสในรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย
1.ทำการสอบเก็บคะแนนปลายภาค
2.ประเมินอาจารย์ผู้สอน

จบการเรียนการสอนภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2553

บันทึกครั้งที่ 15.




วันพุธที่ 29 กันยายน 2553
ส่งข้อสอบเทคนิคการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาการเรียนการสอน : อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้นำไปปรับปรุงแก้ไขและใส่แหล่งอ้างอิงอาจารย์สอนเพิ่มเติมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 14

วันที่พุธ 22 กันยายน 2553

ร่วมกันสรุปงานแผนผัง mind map ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยเรื่อง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ในรูปแบบของเกือกม้าจะช่วยในการเรียนการสอนของเด็ก เช่นการทดลอง เด็กได้เรียนรู้จากการจับ และปฏิบัติสรุปองค์ประกอบของการเขียนแผนผัง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การเดิความสัมพันธ์ของ 2อย่างเข้าด้วยกัน การสังเกต ,การวัด จำแนก ,มิติเวลา กิจกรรมศิลปะไม่ควรใช้ดินสอเพราะ จะทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่น


หมายเหตุ แจกแบบทดสอบเรื่องเทคนิคทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ส่งในสัปดาห์หน้า.

บันทึกครั้งที่ 13




วันที่ พุธที่15 กันยายน 2553

นำเสนอ Mind Map แล้วเพิ่มเนื้อหา ให้สอดคล้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 12

วันที่ 8 กันยายน 2553

สรุปการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต (ในรูปแบบการนำเสนอหน้าชั้นเรียน)
นำเสนอในรูปแบบของ power point

จากนั้นให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เลือกหน่วยการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยทำ Mind Map
แยกส่วนลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญๆเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ในการศึกษา

บันทึกครั้งที่ 11




เนื่องด้วยในวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2553.
จัดกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แสนสนุก ที่โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมตั้งแต่เวลา 7.00 น.

นักศึกษาชั้นปีที่3. ได้เตรียมอุปกรณ์และนำมาจัดกิจกรรมในแก่เด็กชั้นอนุบาล1-เด็กชั้นเตรียมประถมศึกษา
ซึ่งได้แก่ ฐานมหัศจรรย์ของน้ำ ความลับของแสง อากาศ และเสียง

บันทึกครั้งที่ 10






วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553.
แต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับสื่อทางวิทยาศาสตร์
ประกอบด้วยเรื่อง...
1.มหัศจรรย์ของน้ำ
2.ความลับของแสง
3.อากาศแสนสนุก
4.เอ๊ะ! นั่นเสียงอะไร
สาระคำคัญที่ได้ จากการปฏิบัติกิจกรรม
ผู้คิดกิจกรรมจะต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมเด็กจะต้องเกิดทักษะการสังเกต การทดลอง การคิด การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตนเอง
และตัวกิจกรรมจะต้องปลอดภัยเพื่อที่เด็กจะได้ลงมือกระทำได้อย่างเต็มศักยภาพ

การเสนอกิจกรรมยังต้องนำไปปรับปรุงแก้ไขนำเสนอในครั้งต่อไป

บันทึกครั้งที่9

เนื่องจากวันอังคาร ที่ 17 และ วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553
นักศึกษาชั้นปี 3และ ปีที่4 สาขาวิฃาเอกการศึกษาปฐมวัยศึกษา

ได้ออกไปศึกษาดูงานและเข้าค่าย ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

บันทึกครั้งที่8


ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก

เป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค....



บันทึกครั้งที่7

วันพุธ ที่ 4 สิงหาคม 2553


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก มีกิจกรรมบายศรีไหว้ครูของเอก การศึกษาปฐมวัย ...

บันทึกครั้งที่6

วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2553

ชมวิดีทัศน์เรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ
สรุปสาระสำคัญออกมาได้ดังนี้
1.การทดลองการปั่นผลไม้ ในการทดลองนี้จะฝึกให้เด็กสังเกต มีการใช้คำถามเชื่อมโยงกระบวนทางวิทยาศสาตร์
2.การทดลองน้ำแข็ง (น้ำเปลี่ยนสถานะ) เกิดการควบแน่นและเชื่องโยงไปถึงการเกิดของฝน ในการเกิดฝนเกิดจากพลังจากแสงอาทิตย์ลงมายังผิวน้ำ ผิวน้ำก็กลายเป็นไอเกิดการรวมตัวเป็นก้อน ทำให้ท้องฟ้าเย็นจนกลายเป็นเม็ดฝน
3.การทดลอง น้ำใส่แก้วแล้วแช่เย็น ความหนาแน่น ในธรรมชาติแล้วสสารในโลกจะมีโมเลกุลเมื่อน้ำกลายเป็นน้ำแข็งน้ำจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นเมื่อเทน้ำไปใส่แก้วแล้วแช่เย็นเมื่อแข็งตัวน้ำในแก้วก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น
4.การทดลองแครอทใส่ในแก้ว เกิดความหนาแน่นระหว่างน้ำเกลือกับน้ำเปล่า แต่เกลือจะมีความหนาแน่นมากกว่า จะสังเกตได้ว่าเมื่นำแครอทลงในน้ำเปล่าจะปรากฏว่าแครอทจะจม แต่เมื่อเทน้ำเกลือลงไปจะสังเกตได้ว่าแครอทจะลอยขึ้นมา นั่นก็เป็นเพราะว่า เกลื่อมีความหนาแน่นมากกว่า เกลือจึงดันให้แครอทลอยขึ้น
5.การตกของน้ำแข็ง ในการทดลองนำผ้าก็อตวางลงบนน้ำแข็งแล้วใช้เกลือโรยจะปรากฏว่าน้ำแข็งจะติดผ้าก็อตขึ้นมา ก็เป็นเพราะว่าเกลือจะดูดความร้อนจากบริเวณที่ใกล้ จึงทำให้น้ำแข็งติดกับผ้าก็อต6.การทดลองแรงดันจากการเจาะรูจากขวด (ถ้าบริเวณที่มีส่วนลึกน้ำก็จะมีแรงดันมากกว่าบริเวณที่ตื้นกว่า) อากาศจะเข้ไปแทนที่น้ำจึงทำให้น้ำออกมาจากขวด จะเปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนบริเวณที่อยู่ลึกกว่าจะต้องมีความหนามากกว่าบริเวณที่ตื้น มิฉะนั้นแรงดันบริเวณที่ลึกจะทำให้เขื่อนพังลงมาได้

บันทึกครั้งที่5

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2553

นำเสนอโครงการที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว
1. โครงการแม่ลูกช่วยกันระบายสีถุงผ้าลดโลกร้อนข้อแนะนำเพิ่มเติม- เพื่อนเกิดความตระหนักในการใช้ถุงผ้า- ควรปรับตัวหนังสือใน Power Point- มีแหล่งข้อมูลพื้นฐานอาจารย์สะท้อนเรื่อง- ความความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อน- การเขียนงบประมาณต้องมี 3 ส่วน คือ งบใช้สอยค่าอาหาร งบวัสดุ งบครุภัณฑ์

2. โครงการกระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติกข้อแนะนำเพิ่มเติม- มีการยกตัวอย่างรูปภาพและอธิบาย (ภาพขยะเต็มหน้าบ้าน ขยะในแม่น้ำ โลกป่วย ขวดพลาสติก กระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก)- รูปภาพเล็ก น่าจะนำใส่ Power Point- ไม่มีแหล่งข้อมูลความรู้- ควรมีการเกริ่นนำอาจารย์แนะนำ- รูปแบบวิธีการนำเสนอ (การนั่งอภิปราย การนำเสนอแบบพิธีกร)- การใช้สื่อ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยงไม่สอดคล้อง

3. โครงการถังขยะอัจฉริยะข้อแนะนำเพิ่มเติม- การนำเสนอให้เป็นธรรมชาติ ไม่อ่านทุกตัวอักษร- เนื้อหาไม่สอดคล้อง- ระบุระยะเวลาดำเนินการ

4. โครงการกิจกรรมลดภาวะโลกร้อนสำหรับเด็กปฐมวัยข้อแนะนำเพิ่มเติม- ความเชื่อมโยงของเนื้อหา- กิจกรรมซ้ำ

5. โครงการคลายโลกร้อนด้วยมือน้อยข้อแนะนำเพิ่มเติม- รายละเอียดไม่ชัดเจน- เพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลอาจารย์มอบหมายงาน- กิจกรรมลดภาวะโลกร้อนที่แปลกใหม่ (งานกลุ่ม)- นำเศษวัสดุมาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ (งานกลุ่ม)

การบ้าน.
1.หาเศษวัสดุหรือขยะที่ไม่ใช้แล้ว นำมาสร้างหรือประดิษฐ์เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (งานกลุ่ม 1.ชิ้น)
2.คิดกิจกรรมที่แปลกใหม่ สอดคล้องกับโครงการของกลุ่มตนเอง(งานกลุ่ม)
3.หาสาเหตุและวิธีการช่วยลดภาวะโลกร้อน พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มา(งานเดี่ยว ตอบคำถามลงในบล็อก)

บันทึกครั้งที่4


วันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2553.

แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอโครงการได้แก่
1. ซูนีตา โครงการการประดิษฐ์กระถางต้นไม้สุดประหยัดจากขวดพลาสติก
2. น้ำฝน โครงการแม่ลูกระบายสีถุงผ้าช่วยลดภาวะโลกร้อน
3. เพ็ญศรี โครงการลดภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย
4. ศุภาพร โครงการถังขยะอัจฉริยะ
5. สุพัตรา โครงการประดิษฐ์ตระกร้าจากกล่องนม


การบ้าน.1.นำโครงการไปปรับปรุง2. ให้นักศึกษาคิดและประดิษฐ์ชิ้นงาน "ศิลปะสอนวิทยาศาสตร์" มาเสนอคนละ1ชิ้นส่งในสัปดาห์ถัดไป3.นัดหมายการเรียนในครั้งต่อไปเวลา 9.00 น.